วันอังคารที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ตลาดท่าพระจันทร์

วันนี้ผมจะพูดถึงตลาดค้าขายที่กรุงเทพฯ คือตลาดท่าพระจันทร์ซึ่งตั้งอยู่บริเวณสุดถนนพระจันทร์ในเขตพระนคร ท่าพระจันทร์เป็นที่รู้จักกันในฐานะท่าเรือข้ามฝาก ตั้งอยู่ใกล้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แต่ก่อนนั้นบริเวณนี้เป็นที่ตั้งของป้อมพระจันทร์ ซึ่งเป็นป้อมหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าสร้างขึ้นเป็นป้อมตามแนวกำแพงพระนครด้านตะวันตก
ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้ใช้บริเวณพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) เป็นท้องสนามหลวง ถนนหน้าพระธาตุ ป้อมต่างๆ รอบกำแพงพระราชวังบวรสถานมงคลจึงถูกรื้อลงหมดรวมทั้งป้อมพระจันทร์ด้วย ส่วนถนนที่ตัดตรงสู่บริเวณที่เคยเป็นที่ตั้งของป้อมพระจันทร์ จึงมีชื่อว่า ถนนพระจันทร์และท่าน้ำในบริเวณที่เคยเป็นที่ตั้งของป้อมพระจันทร์ จึงเรียกว่าท่าพระจันทร์มาจนปัจจุบันนี้
การเดินทางมาท่าพระจันทร์ส่วนใหญ่มาช้อบปิ้งสินค้าวัตถุมงคลไม่ยากเย็นอะไรท่ารู้จักการเดินทางมาสนามหลวงถูกจากนั้นก็เดินผ่านมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เดินทางเข้ามาทางด้านหลัง ก็จะพบร้านค้าขายมากมายส่วนใหญ่เป็นเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม แต่ถ้าต้องการวัตถุมงคลต้องเข้าไปตรอกมหาธาตุ เพราะจะมีร้านให้เช่าเป็นจำนวนมาก ร้านเหล่านี้อยู่หลังวัดมหาธาตุฯ และท่าเดินทางไปมหาวิทยาลัยศิลปากรตลอดสองข้างทางจะเรียงรายไปด้วยของมือสองหลากหลายชนิดส่วนมากเป็นเหล่าพระเครื่องของโบราณหายาก เช่น หนังสือ กรอบพระ ฯลฯ ซึ่งมีเรียงรายไปจนถึงท่าช้างครับ
ร้านค้าละแวกท่าพระจันทร์ไปจนถึงท่าช้างจะปิดร้านเก็บของกันประมาณ 1 ทุ่ม ซึ่งหากเดินซื้อของแถวนั้นเสร็จแล้วเราก็อาจไปหาอะไรทานแถวท่าพระจันทร์หรือวังหลังแล้วประมาณสัก 3 ทุ่ม เราอาจไปเดินสนามหลวงซึ่งมีแบกระดินสินค้ามือสองขายกันโดยรอบสนามหลวงเลย มากไปกว่านั้นดึกๆ ยังสามารถนำรถไปจอดในท้องสนามหลวงได้ครับ

วันอังคารที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ตลาดโรงเกลือ ประเภทสินค้า

สินค้าส่วนใหญ่ที่ขายในโรงเกลือก็มาจากหลายๆ ที่ด้วยกัน เช่น กัมพูชา จีน เกาหลี ฮ่องกง สินค้ามือสองจากยุโรป รวมทั้งประเทศไทยเราด้วย เมื่อสินค้ามาถึงตลาดโรงเกลือพ่อค้าคนกลางจะนำคนงานไปแยกสินค้าตามสภาพใหม่เก่า เพื่อกำหนดราคาขายต่อจากนั้นทำความสะอาด ชิ้นไหนชำรุดก็ซ่อมแซม บางชิ้นสินค้าที่ชำรุดช่อมแซมแล้วมองแทบไม่ออกว่ามีการชำรุดถ้าไม่ชำนาญจริงๆ ว่ามีการซ่อมแซมมาแล้ว
ตลาดนี้เริ่มต้นตั้งแต่เช้า ประมาณเจ็ดโมงเช้าคนก็เริ่มขายของกันแล้วสินค้าที่ขายในโรงเกลือมีความหลากหลายมากแต่ที่มีชื่อเป็นที่มีชื่อคือ เสื้อผ้ากระสอบหรือเสื้อผ้ามือสองคุณภาพดีที่มีผู้ศรัทธาจากต่างประเทศ ต่าง ๆ ทั้งในยุโรบ สหรัฐอเมริกาบริจาคให้กับผู้ยากไร้ในเขมรมีทั้งกางเกงยีนส์ เสื้อยืด เสื้อเชิ้ต เสื้อกันหนาวรองเท้าหนังถ้วยชาม ข้าวของเครื่องใช้ ข้าวของเครื่องใช้ที่ทำมาจากหวาย จากเครื่องทองเหลือง เครื่องกระเบื้อง เครื่องใช้ไฟฟ้า ปลาแห้งจากทะเลสาบเขมร ของเล่นเด็ก ผ้าห่ม ผ้าม่าน สินค้าประเภทรองเท้า กระเป๋า เสื้อกันหนาว มักจะคัดแยกใส่ตู้คอนเทนเนอร์มาขึ้นที่ท่าเรือแหลมฉบัง กางเกงยีนส์จะบรรทุกผ่านมาทางท่าเรือกำปงโสมของกำพูชากางเกงยีนส์ยี่ห้อดังแพงๆ บางตัวเมื่อซ่อมแล้วจะถูกส่งไปขายที่เทศญี่ปุ่นด้วย
สิ่งสำคัญที่สุดในการเลือกซื้อของที่ตลาดโรงเกลือ เนื่องจากสินค้าที่นี่มีทั้งสินค้าแบรนเนมด์ของแท้และของเทียมเช่น กระเป๋ากุชชี่บางใบราคา 15,000 บาท อาจซื้อได้ที่ราคา 1,000 บาท หรือจะเป็นกางเกงยีนส์ลีวายส์ริมแดงจากเดิมราคา 1,600-2,000 บาท สามารถซื้อได้ในราคา 700-1,000 บาท แต่ถ้าเลือกไม่ดีจะได้ของเทียมราคาเท่าของแท้

วันศุกร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ตลาดโรงเกลือ การเดินทาง

การเดินทาง
1.จากกรุงเทพฯใช้เส้นทางสายพหลโยธินมาถึงรังสิตแล้วให้ชิดซ้าย โดยใช้สะพานวงแหวนข้ามมาลงที่เส้นทางหมายเลข 305 ผ่านอำเภอองค์รักษ์ จังหวัดนครนายก จากนั้นเข้าสู่เส้นทางหลวงหมายเลข 33 ผ่านอำเภอกบินทร์บุรี ไปจนถึงจังหวัดสระแก้ว ระยะทางประมาณ 214 กิโลเมตร
2.จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 แล้วเลี้ยวขวาที่แยกหินกองไปตามทางหลวงหมายเลข 33 ผ่านจังหวัดนครนายก ผ่านอำเภอกบินทร์บุรี ระยะทางประมาณ 245 กิโลเมตร
3.จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 304 ผ่านเขตมีนบุรี ฉะเชิงเฉรา จากนั้นให้ใช้เส้นทางไปอำเภอพนมสารคาม พอถึงประมาณกิโลเมตรที่ 35 ให้เลี้ยวขวาไปทางอำเภอกบินทร์บุรี โดยใช้เส้นทางหมายเลข 304 พอถึงประมาณกิโลเมตรที่ 95 ให้เลี้ยวขวาอีกครั้ง เข้าเส้นทางหลวงหมายเลข 33 ไปจนถึงจังหวัดสระแก้วระยะทางประมาณ 210 กิโลเมตร
4.จากกรุงเทพฯใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 304 ผ่านเขตมีนบุรีไปจังหวัดฉะเชิงเทราจากนั้นให้ใช้เส้นทางอำเภอพนมสารคามผ่านศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนจะพบทางแยกขวาไปจังหวัดสระแก้วทางหลวงหมายเลข 359
รถโดยสารประจำทาง
มีบริษัทขนส่ง จำกัดมีบริการโดยสารประจำทาง ทั้งธรรมดาละรถปรับอากาศ ออกจากสถานีขนส่งหมอชิต ถนนกำแพงเพชร 2 ทุกวัน วันละหลายเที่ยว ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 02-936-2852-66 ต่อ 11
รถไฟ การรถไฟแห่งประเทศไทย มีขบวนรถโดยสารสาย กรุงเทพฯ-สระแก้ว-อรัญประเทศ วันล่ะ 2 ขบวน เวลา 05.55 น.และ 13.05 น. อัตราค่าโดยสารคนละ 48 บาท ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หน่วยบริการเดินทาง โทร. 0-2223-7010,0-2220-4334 ต่อ 1690

วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ตลาดโรงเกลือ


ผู้เขียนคิดว่าตลาดโรงเกลือเป็นตลาดที่ขายเกลือที่ใหญ่มากในประเทศไทย แต่พอได้ไปเที่ยวกับไม่เป็นอย่างที่คิดเพราะเห็นร้านเสื้อผ้าเต็มไปหมดเลยได้ไปเห็นแล้วก็ถึงบางอ้อจนได้
คำว่าโรงเกลือ ที่ผมเห็นนี้ในอดีตเป็นโกดังเก็บเกลือขนาดใหญ่นั้นเองส่งไปขายในประเทศกัมพูชาเพื่อนำไปใช้ทำปลาเค็มแต่ต่อมาเขาใช้เกลือกันน้อยลงและเกิดภาวะสงครามภายในประทศกัมพูชา จึงมีการปรับปรุงและพัฒนาเป็นอาคารขึ้นมาแทนที่เคยใช้เก็บเกลือ ซึ่งมีขนาดใหญ่โตติดชายแดนซึ่งเปิดให้บริการในพื้นที่กว้างถึง 66 ไร่ ซึ่งเปิดใช้ครั้งแรกเมื่อ 15 มิถุนายน 2534 ร้านค้าสร้างลักษณะเป็นโรงเรือนแบ่งเป็นห้องๆ
ตลาดโรงเกลือเปิดบริการทุกวันไม่มีวันหยุด ตั้งแต่เวลาเจ็ดโมงเช้าจนถึงประมาณสองทุ่ม ตลาดนี้ถือเป็นแหล่งซื้อสินค้ามือสองหรือของเก่าที่ขึ้นชื่ออันดับหนึ่งของไทยเลยก็ได้ ตลาดโรงเกลือเป็นตลาดการค้าชายแดนใหญ่ที่สุดในประเทศไทย หรือเรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งคือ ตลาดชายแดนบ้านคลองลึก ตั้งอยู่ที่บ้านคลองลึกตำบลท่าข้าม อำเถออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ติดกับชายแดนกัมพูชา

วันพุธที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ตลาดนัดจตุจักร ที่จอดรถ


สถานที่จอดรถตลาดนัดจตุจักร

1.ตลาด อ.ต.ก.
จำนวนที่จอดรถ 1,500 บาทค่าบริการ 15 นาทีแรกไม่คิดค่าจอดรถชั่วโมงแรก 10 บาท 2 ชั่วโมง 20 บาท 3 ชั่วโมง 40 บาท 5 ชั่วโมง 140 บาทเกิน 6 ชั่วโมง 200 บาท
2.บริเวณตรงข้ามเจเจมอลล์
จำนวนที่จอดรถ 300 คัน ค่าบริการ ชั่วโมงแรก 30 บาท เศษของชั่วโมงคิดเป็น 1 ชั่วโมง
3.บริเวณภายในตลาดนัดจตุจักรพลาซ่า
จำนวนที่จอดรถ 300 คัน ค่าบริการชั่วโมงแรก 20 บาท เศษของชั่วโมงแต่ไม่ถึงครึ่งชั่วโมงคิดเพิ่มเป็น 10 บาท เกินครึ่งชั่วโมงคิดเพิ่ม 20 บาท จอดทั้งวันคิด 100 บาท
4.พิพิธภัณฑ์เด็ก กรุงเทพมหานคร
จำนวนที่จอดรถ 70 คัน ค่าบริการฟรี
5.Park & Ride
จำนวนที่จอดรถ 1,500-2,000 คัน ค่าบริการ 40 บาทตลอดวัน
6.สวนจตุจักร
จำนวนที่จอดรถ 80-100 คัน ค่าบริการฟรี
7.เจเจมอลล์
จำนวนที่จอดรถ 2,000 คัน ค่าบริการชั่วโมงล่ะ 20 บาท
8.ตรงข้ามเจเจมอล์
จำนวนที่จอดรถ 1,500 คัน ค่าบริการ 60 บาท ตลอดวัน
9.ที่จอดรถของ BTS สถานีสวนจตุจักร
จำนวนที่จอดรถ 2,000 คัน ค่าบริการจอดฟรี
10.ที่จอดรถของ MRT สถานีบางซื่อ
จำนวนที่จอดรถ 2,000 คัน ค่าบริการจอดฟรี

วันอังคารที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ตลาดนัดจตุจักร การเดินทาง

วันนี้คงจะเป็นเรื่องการเดินทางเข้าไปซื้อสินค้าในตลาดนัดผู้อยู่ต่างจังหวัดจะสับสนกันบ้างแต่สำหรับคนกรุงเทพฯคงจะรู้ว่าจะต้องขึ้นรถสายไหนที่มาลงตลาดได้โดยสดวกเรามาดูวิธีกันดีกว่า
การเดินทางรถเมล์ที่ผ่านสวนจตุจักร ถนนพหลโยธิน
3,8,26,27,28,29,34,39,44,52,59,63,77,90,96,104,108,112,122,134,136,138,153,159,ปอ.2,ปอ.3,ปอ.9,ปอ.8,ปอ.19,ปอ.34,ปอ.38,ปอ.39,ปอ.44,ปอ.134,ปอ.145,ปอ.153,ปอ.510,ปอ.512,ปอ.513,ปอ.พ.2,ปอ.พ.5,ปอ.พ.8,ปอ.พ.12,ปอ.พ.15,ปอ.พ.16
รถเมล์ที่ผ่านสวนจตุจักร ถนนกำแพงเพชร1(ตลาด อ.ต.ก.)
77,122,134,136,138,145,ปอ.12,ปอ.134,ปอ.145,ปอ.พ.13,ปอ.พ.15
รถเมล์ที่ผ่าสวนจตุจักร ถนนกำแพงเพชร2(ทางไปหมอชิต2)
136,138,145,157,ปอ.145,ปอ.157,ปอ.พ.13,ปอ.พ.15
BTS รถไฟฟ้า
ให้ลงสถานีปลายทางหมอชิต สามารถลงได้ทั้งสองทางแล้วก็เดินมาทางสวนจตุจักรซึ่งตลาดนัดจตุจักรจะอยู่หลังสวนจตุจักร

MRT รถไฟฟ้าใต้ดินให้ลงสถานีกำแพงเพชรออกทางประตูที่2 จะมีป้ายบอกว่าไปตลาดนัดจตุจักร ขึ้นไปก็จะพบโครงการ 1 พอดี

วันจันทร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ตลาดนัดจตุจักร กลุ่มสินค้า

ตลาดนัดจตุจักรมีพื้นที่ใหญ่ใครไม่เคยไปอาจจะหลงและหาสินค้าไม่เจอตามที่เราต้องการผมจะแจ้งให้ทราบพอเป็นแนวทางการไปหาสินค้า ตลาดนัดจตุจักรแบ่งพื้นที่ออกเป็น 26 โครงการโดยกลุ่มสินค้าสามารถแยกง่ายๆ ดังนี้
1.สินค้าหัตกรรม ประติมากรรมทองเหลืองเครื่องแกะสลักจากไม้อยู่โครงการ 8 อยู่จตุจักรพลาซ่าและเจเจมอลล์
2.หนังสือที่เก่าหรือของใหม่อยู่โครงการ1,27 และร้านค้าตรงข้ามฝั่งถนนกำแพงเพชร 2
3.ของเก่าของสะสมอยู่โครงการ 1,21
4.งานศิลปะอยู่โครงการ 7 จตุจักรพลาซ่า และเจเจมอลล์
5.ต้นไม้,พืชสวนครัว,ไม้ประดับ,กล้วยไม้,ไม้ดอก,ไม้ดัดชนิดต่างๆ,อุปกรณ์จัดสวนอยู่โครงการ 3,4 และตลาดศรีสมรัตน์
6.เซรามิกและเครื่องปั้นดินเผาอยู่โครงการ 11,15,17,19,25 และจตุจักรพลาซ่า
7.อาหารและเครื่องดื่มอยู่โครงการ 1,2 และเจเจมอลล์
8.เสื้อผ้าและเครื่องประดับอยู่โครงการ 5,6,10,12,14,16,18,20,21,23 จตุจักรพลาซ่าและเจเจมอลล์
9.ของแต่งบ้าน,เฟอร์นิเจอร์,เครื่องเรือนจีนโบราณ,เครื่องประดับบ้านแบบของโบราณ,ของตกแต่งบ้านสไตล์เอเชียอยู่โครงการ 2,3,4,5,6,7 จตุจักรพลาซ่าและเจเจมอลล์
10.สินค้าเบ็ดเตล็ดและเสื้อผ้ามือสองอยู่โครงการ 2,3,4,22,25,และ26
11.สัตว์เลี้ยงตลาดศรีสมรัตน์,ตลาดซันเดย์